วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใบงานเรื่อง "บล็อก"

Blog
View more documents from Navapat

บทความ "เศรษฐกิจพอเพียง"

เศรษฐกิจพอเพียง


          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน 
แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น 
เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้

ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า 
". . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ 
แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ. . ."

จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง "พอมีพอกิน"
". . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมี
พอกินก็ยิ่งดี. . ." 
". . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบาย
ที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. . ." 
ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า

". . . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . . 
เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . . 
. . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริ
ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัส
เศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . 
แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจ
ในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย .

ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก 
คนเราก็อยู่เป็นสุข "พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น 
ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . ." ". . . ฉะนั้น ความพอเพียงนี้
ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล. . ."

ได้มีพระราชกระแสเพิ่มเติมระหว่างเข้าเฝ้าถวายงานมาอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐาน ของชีวิต 
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้าง
จะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
...ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่ง ส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า 
เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ . . . 

จากพระราชดำรัส: เศรษฐกิจพอเพียง

มิได้จำกัดเฉพาะของเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ
 ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง 
ถ้าจะต้องขยายกิจการเพราะความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป 
หรือหากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสม ไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ 
เมื่อภาวะของเงินผันผวน ประชาชนก็จะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว สำหรับเกษตรกรนั้นก็ทำไร่ทำนา 
ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว "ทฤษฎีใหม่" ได้สำเร็จ หากไม่มีความพอประมาณในใจตน
นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ำไป ก็ย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบ
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ 
ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง 
คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น 
หมายถึงความสุขความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ 
ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น . . . 


หลักการพึ่งตนเอง หากขยายความออกไป อาจจะสามารถยึดหลักสำคัญของความพอดี
ได้ 5 ประการคือ
ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม 
นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง 
และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ 
เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่
เป็นขั้นเป็นตอนไป
ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ 
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพ
แวดล้อมของเราเอง
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ 
และฐานะของตน

กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนา
เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เราเน้นการผลิตสินค้า 
เพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว เมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ 
เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่ง ชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนัก
ถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร 
นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" นับตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งโครงการแรกๆ 
แถวจังหวัดเพชรบุรี ก็ทรงกำชับหน่วยราชการมิให้นำเครื่องมือกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก 
ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน

จากนั้นได้ทรงคิดค้นวิธีการที่จะช่วยเหลือ ราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด "ทฤษฎีใหม่" ขึ้น เมื่อปี 2535 
ณ ครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็น 
ตัวอย่างสำหรับการทำการเกษตรให้แก่ราษฎร ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30:30:30:10 
คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวน 
และเลี้ยงสัตว์ใน 10 สุดท้าย 


. . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง 
เพื่อที่จะให้ตัวเอง มีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป
ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง . . . ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมา โดยตลอด 
เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ 
โดยยึดหลักการ "ทฤษฎีใหม่" 3 ขั้น คือ 

ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย

ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา 
การพัฒนาสังคม

ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือ
กับภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและ
ข่าวสารข้อมูล
สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ "เศรษฐกิจพอเพียง" มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตร
อย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้อง
พึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน 
จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มีความเข้มแข็ง 
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด 
ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 
20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม 
และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้
เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ 

. . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละ
ความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดี
ที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น . . . 

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง 
ดังพระราชดำรัสว่า . . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . . 

2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม 
ดังพระราชดำรัสที่ว่า . . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและ
การหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลักสำคัญ. . . 

3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต     
ซึ่งมีพระราชดำรัส
เรื่องนี้ว่า . . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหา
มาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการ
แก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . .

4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้
เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
 . . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง
 เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป
 ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .

5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ 
เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น 
พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา
 และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . . 

ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ" ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็
จะพบกับความสุข 

เพลง ทรงพระเจริญ - Room39





ข้อมูลจาก : วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา http://www.chaipat.or.th
                               http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/02/pic08.jpg